คุณสมบัติผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน

– บรรลุนิติภาวะ
– สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
– ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
– มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
– ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
เอกสาประกอบคำขออนุญาต การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน

ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
– บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และ เหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6
เดือน
– ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
– ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
– หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ
– บัตรประจำตัวข้าราชการ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศพันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
– ผู้ที่มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไปไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
– หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน

ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
– บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
– หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิเช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้างต้องมีหนังสือรับรอง
ตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจากผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้นหรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบตามที่
อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงิน
ฝากธนาคาร (Statement) หรือหลักฐานอื่นเพื่อประกอบการพิจารณา
– หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
– พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
– หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
– หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน

การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล(รับโอน)
– หลักฐานเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนจากร้านค้า
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้โอนพร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4)ของอาวุธปืนที่จะโอน
– หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
– หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
– ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน(เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4)
ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าไร หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เพื่อเป็นหลักฐานทั้ง2ฝ่าย(ผู้โอน+
ผู้รับโอน)

การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย)
– ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน(ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ตาย
พร้อมนำใบอนุญาต(ป.4) และอาวุธปืนมอบให้นายทะเบียนด้วย
– ใบมรณะบัตร พร้อมสำเนา
– สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
– ถ้ามีผู้จัดการมรดกเสนอได้เลย
– ถ้าไม่มีผู้จักการมรดก ต้องสอบทายาททั้งหมด ว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ
– ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้องเช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อ นายทะเบียนท้องที่พร้อม
เอกสารข้างต้น
– หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
– นำอาวุธปืนที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง

การแจ้งการย้ายอาวุธปืน
– ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิม และนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออกไปและวัน
ที่ไปถึง
– ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
– บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
– นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
– ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน
– ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
– บัตรประจำตัว (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
– กรณีใบอนุญาตสูญหาย แจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ที่